เมนู

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7


สัญญาสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
รูปารมณ์ อันจักขุวิญญาณเห็นแล้วเป็นต้น. บทว่า อตฺเถน อตฺโถ
ได้แก่ อรรถกับอรรถ. บทว่า พฺยญฺชเนน พฺยญฺชนํ ได้แก่ พยัญชนะ
กับพยัญชนะ. บทว่า สํสนฺทิสฺสติ แปลว่า จักเป็นไปกันได้. บทว่า
สเมสฺสติ แปลว่า จักเสมอกันได้. บทว่า น วิคฺคยฺหิสฺสติ ได้แก่ จักไม่ผิด
กัน . บทว่า อคฺคปทสฺมึ ได้แก่ ในพระนิพพาน.
จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7

8. มนสิการสูตร


ว่าด้วยกระกระทำอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ในใจ


[215] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำ
จักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้ การที่
ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูป
ไว้ในใจ... ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรม
ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็
แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว
ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.
พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่น
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
กายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะ
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
โลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ว ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว
ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ.
จบมนสิการสูตรที่ 8

อรรถกถามนสิกาสูตรที่ 8


มนสิการสูตรที่ 8

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจเวกขณปัญญาไว้.
จบอรรถกถามนสิการสูตรที่ 8

9. อเสขสูตร


การเพ่งของม้าอาชาไนย และม้ากระจอก


[216] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อิญชกาวสถา-
คาร1 ในนาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระสันธะว่า ดูก่อน
สันธะ เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้าอาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของ
ม้ากระจอก ดูก่อนสันธะ ก็การเพ่งของม้ากระจอกย่อมมีออย่างไร ดูก่อน
สันธะ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า
ข้าวเหนียว ๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่เขาผูกไว้
ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้

1. โดยมากเป็น คิญชกาวสถาคาร.